top of page
hivteam

รักษา เอชไอวี เชียงใหม่


รักษา เอชไอวี เชียงใหม่

HIV ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่างๆได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

เอชไอวี ติดต่อกันได้อย่างไร ?

  • ทางเพศสัมพันธ์

  • ทางเลือด

  • จากแม่สู่ลูก

เอชไอวี อาการเป็นอย่างไร ?

เอชไอวี อาการเป็นอย่างไร ?

อาการของการติดเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลัก ได้แก่

  • ระยะเฉียบพลัน ระยะนี้เกิดขึ้นประมาณ 2 - 4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่น และปวดหัว อาการเหล่านี้มักหายไปเองภายใน 1 - 2 สัปดาห์

  • ระยะแฝง ระยะนี้เกิดขึ้นหลังจากระยะเฉียบพลันไปแล้ว ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ น้ำหนักลด ท้องเสีย เหงื่อออกตอนกลางคืน ต่อมน้ำเหลืองโต อาการเหล่านี้มักไม่รุนแรง และสามารถหายเองได้

  • ระยะเอดส์ (AIDS) ระยะนี้เกิดขึ้นเมื่อระดับเซลล์ CD4 ลดลงต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ติดเชื้อโรคฉวยโอกาส น้ำหนักลดมาก ท้องเสียเรื้อรัง อ่อนเพลียมาก ติดเชื้อราในช่องปาก โรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น

การวินิจฉัย เอชไอวี

การวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำได้ด้วยการตรวจจากเลือด โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีจากในห้องปฏิบัติการมีด้วยกัน 4 วิธี ได้แก่

  1. HIV p24 Antigen Testing วิธีนี้สามารถตรวจได้ภายหลังการติดเชื้อ ประมาณ 2 สัปดาห์

  2. Anti-HIV Testing วิธีนี้สามารถตรวจพบได้หลังการติดเชื้อ ประมาณ 3 - 4 สัปดาห์

  3. HIV Ag/Ab Combination Assay วิธีนี้สามารถตรวจพบได้หลังการติดเชื้อ ประมาณ 2 สัปดาห์

  4. Nucleic Acid Amplification Testing วิธีนี้สามารถตรวจพบได้หลังการติดเชื้อ ประมาณ 5 - 7 วัน

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนเป็นประจำ

  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ หรือวางแผนมีบุตร ควรตรวจเอชไอวีก่อนตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือหากตั้งครรภ์ขณะติดเชื้อ

เอชไอวี ป้องกันได้อย่างไร ?

วิธีป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

  • การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย HIV

  • ตรวจหาเชื้อ HIV เป็นประจำ

  • สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นประจำ ควรพิจารณา ยา PrEP

เอชไอวี รักษาอย่างไร ?

การรักษาเอชไอวี มุ่งเน้นไปที่การรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกาย และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปสู่ระยะเอดส์ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะมีประสิทธิภาพสูงสุด หากผู้ป่วยเริ่มรับประทานยาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของการติดเชื้อ นอกจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแล้ว ผู้ป่วยเอชไอวีควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ในปัจจุบัน ผู้ป่วยเอชไอวีที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป

เชียงใหม่ รักษาเอชไอวี ได้ที่ไหน ?

เชียงใหม่ รักษาเอชไอวี ได้ที่ไหน ?

สำหรับชาวเชียงใหม่ ที่ต้องการตรวจเอชไอวี รักษาเอชไอวี สามารถเข้ารับบริการได้ที่ Hugsa Clinic กลางเวียง เชียงใหม่ ที่พร้อมให้บริการโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อมอบคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีให้กับชาวเชียงใหม่อย่างคุ้มค่าคุ้มราคา พร้อมบริการด้านการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และก้าวทันนวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมทั้งการบริการที่ดีแก่ผู้ป่วยทุกท่านให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด

ติดต่อเรา

  • ฮักษาคลินิก กลางเวียง เชียงใหม่

  • ตั้งอยู่ที่ 77/7 ถนน คชสาร ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่

  • เปิดบริการทุกวัน

    • จันทร์ – ศุกร์ 10.00 – 20.00 น.

    • เสาร์ – อาทิตย์ 10.00 – 18.00 น.

  • สอบถามผ่าน Line id. @hugsaclinic (มี @ ด้วยนะครับ)

  • เบอร์โทรติดต่อ ☎ 093 309 9988

  • แผนที่คลินิก 🚗 https://g.page/hugsa-medical?share

  • จองคิวตรวจออนไลน์ https://hugsa.youcanbook.me

ถึงแม้ว่าเอชไอวี จะเป็นเชื้อไวรัสที่น่ากลัว แต่เราสามารป้องกันได้ง่ายๆ โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ตรวจเอชไอวีเป็นประจำ เพียงเท่านี้เอชไอวี ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด

Comments


bottom of page